อุทัยธานี

    อุทัยธานีเมืองชนก  จักรีปลาแรดรสดี
    ประเพณีเทโว  ส้มโอบ้านน้ำตก
    มรดกโลกห้วยขาแข้งแหล่งต้นน้ำ  สะแกกรังตลาดนัดดังโคกระบือ

     

    ลักษณะทางภูมิประเทศ

    จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 35 ลิปดา – 16 องศา 48 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 90 – 100 องศา 15 ลิปดาตะวันออก มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 6,734 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,208,750 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้คือ    ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนครสวรรค์ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรีทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดนครสวรรค์ และชัยนาททิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดตาก และกาญจนบุรี

    ลักษณะทางภูมิอากาศ

    ภาคกลางมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีที่สูงและภูเขาล้อมเกือบรอบ ทางใต้เปิดโล่งติดต่อกับอ่าวไทยเพียงด้านเดียว ฉะนั้นจึงรับลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้ที่พัดจากอ่าวไทยตอนบนของที่ราบภาคกลาง ติดต่อกับภาคเหนือ ซึ่งอยู่ล้ำเข้าไปในดินแดนภายในภาคพื้นทวีป ทำให้มีอากาศ คล้ายภาคเหนือ คือ หนาวในฤดู หนาวและร้อนในฤดูร้อน แต่ทางตอนใต้ของภาคอยู่ใต้ลงมาได้รับอิทธิพลจากทะเล ในฤดูหนาวจึงไม่หนาวและในฤดูร้อนจึงไม่ร้อน เหมือนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางด้านตะวันตกอยู่ไม่ห่างไกลจากทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียมากนัก จึงรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ถึงแม้จะมี เทือกเขาตะนาวศรีขวางทิศทางลมที่นำฝนมาตกก็ตาม แต่เนื่องจากอยู่ไม่ห่างไกลจากทะเลและเทือกเขาไม่สูงมากนัก กระแสลมที่ชุ่มชื้นมากก็ยังล่วงล้ำเข้ามาถึงภายใน ได้บ้างตลอดเวลาที่ลมนี้พัดตลอดฤดู แต่ก็ยังนับว่าน้อยกว่าภาคอื่น ๆ ถือว่าเป็นบริเวณอับลม โดยเฉพาะทางด้านปลายลงหลังทิวเขาตะนาวศรี จะดูได้จากปริมาณน้ำฝน ที่ จ . ตากและกาญจนบุรี อุณหภูมิ การที่ภาคกลางตอนบนอยู่ลึกเขาไปในแผ่นดินมาก อุณหภูมิของอากาศจึงมีพิสัยแตกต่างกันมากในฤดูร้อนและฤดูหนาว อุณหภูมิเคยขึ้นสูงสุดถึง 43 องศาเซลเซียส ที่ จ . เพชรบูรณ์ และอุณหภูมิเคยลงต่ำสุดถึง 2 องศาเซลเซียส ที่ จ . เพชรบูรณ์เช่นเดียวกัน ปริมาณน้ำฝน ได้รับฝนจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคกลางจัดได้ว่าเป็น พื้นที่อับฝนหรืออยู่ด้านปลายลมซึ่งมีฝนน้อย บริเวณต้นลมเช่นด้านตะวันตกของภูเขาใน จ . เพชรบูรณ์ นครนายก จะมีฝนตก มากกว่า นอกจากนั้นก็ได้รับฝนที่เกิดจากพายุดีเปรสชัน จากทะเลจีนใต้ โดยทั่วไปพื้นที่ทางบริเวณทางด้านตะวันออกของภาคจะมีฝนตกมากกว่า ทางด้านตะวันตก และทางตอนล่างของภาคจะมีฝนมากกว่าทางตอนบน จังหวัดที่มีปริมาณ น้ำฝนมากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุด คือ จ . นครสวรรค์ฤดูกาลภาคกลางมีฤดูกาลที่เห็นเด่นชัดมี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อนฤดูฝน ในภาคกลางจะเริ่มต้นเมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มพัดเข้ามาถึงก้นอ่าวไทย ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดผ่าน และมีฝนตกแผ่กระจายตามแนวร่องมรสุม และยังได้รับฝนจากพายุดีเปรสชันที่มีปริมาณมากในระยะปลายเดือนกันยายน และต้นเดือนตุลาคม ฝนในภาคกลางจะตกมาก ในระหว่างเดือนสิงหาคมถึง กันยายน ฤดูฝนจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม